คู่มือ กลุ่มบำบัดแบบช่วยเหลือกันเอง สำหรับพ่อแม่เด็กติดเกม
Game addiction : Self-Help Group for Parents
ผศ. นพ. พนม เกตุมาน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ทฤษฎีพื้นฐาน
วัตถุประสงค์
1. ลดอาการทางจิตใจ-อารมณ์ เช่น ความเครียด ซึมเศร้า ที่เกิดจากปัญหาเด็กติดเกม
2. มีความรู้เกี่ยวกับโรคติดเกม(สาเหตุ การรักษา การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง)
3. มีทักษะในการแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม
4. มีทักษะในการให้ความรู้ผู้อื่นเรื่องปัญหาเด็กติดเกม
วิธีการ
ใช้หลักการของกลุ่มบำบัดขนาดเล็ก ที่มีลักษณะกลุ่มช่วยเหลือกันเอง แบบ self-help group
การจัดกลุ่ม
คัดเลือกสมาชิกกลุ่มที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กที่ติดเกม จำนวน 12-15 คน
เวลา
พบกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์(รวม 3 ครั้ง) ครั้งๆละ 90 นาที
ผู้รักษา ในกลุ่มมีผู้นำกลุ่ม 1 คน ผู้ช่วยผู้นำกลุ่ม 1 คน
1. ผู้นำกลุ่ม( therapist) 1 คน
คุณสมบัติของผู้นำกลุ่ม
- มีความรู้ เรื่องโรคเด็กติดเกม
- มีความรู้ และทักษะ เรื่อง กลุ่มบำบัดขนาดเล็ก (small group psychotherapy and self help group)
- มีทัศนคติดีต่อการรักษาแบบกลุ่ม แบบองค์รวม
บทบาทของผู้นำกลุ่ม
![]() | เริ่มต้นกลุ่ม |
![]() | ดำเนินการ กิจกรรมกลุ่มให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ |
![]() | กระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มแสดงออก มีส่วนร่วมในกลุ่มอย่างถ้วนหน้ากัน |
![]() | ยับยั้งการแสดงออกของสมาชิกกลุ่มบางคนที่แสดงออกมากเกินไป ไม่ตรงประเด็น หรือไม่เหมาะสม |
![]() | เปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มคนที่ไม่กล้า ไม่มีโอกาส ได้แสดงออก |
![]() | รักษากฎกติกาของกลุ่ม |
![]() | ดำเนินกลุ่มให้เป็นไปตามเวลาที่วางแผนไว้ |
![]() | ยุติกลุ่มตรงตามเวลา |
2. ผู้ช่วยนำกลุ่ม(co-therapist) 1 คน
คุณสมบัติของผู้ช่วยนำกลุ่ม เช่นเดียวกับผู้นำกลุ่ม
บทบาทของผู้ช่วยนำกลุ่ม
![]() | ช่วยผู้นำกลุ่ม ดำเนินกิจกรรมตามแผนการที่วางไว้ |
![]() | สังเกตความเป็นไปของกลุ่ม โดยเฉพาะบางคนที่ผู้นำกลุ่มไม่เห็น(เช่น คนที่นั่งข้างๆผู้นำกลุ่ม หรือคนที่ไม่แสดงออก) |
![]() | ในขณะที่ผู้นำกลุ่มกำลังสนใจฟังสมาชิกบางคน อาจมีปฏิกิริยาจากสมาชิกอีกคน ที่ผู้นำกลุ่มไม่เห็น แต่มีความสำคัญ อาจขออนุญาตผู้นำกลุ่มแทรก หรือเสริมในเรื่องที่คิดว่ามีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในกลุ่ม |
การคัดเลือกพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กติดเกม
- เพศชาย หรือ หญิง จำนวนใกล้เคียงกัน
- อายุ 20 ปีขึ้นไป
- มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น สามารถสื่อสาร แสดงความคิดเห็นได้
- ไม่มีอาการโรคจิต หรือหวาดระแวง
- ไม่มีอาการทางร่างกายรุนแรงมากจนเป็นอุปสรรคต่อการร่วมกลุ่ม