มาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก
(Professional Standards of Clinical Psychology)
ก่อนที่จะได้ทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติการทดสอบทางจิตวิทยา อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน นักจิตวิทยาคลินิกควรที่จะได้ทราบข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน สิ่งสำคัญที่ควรทราบในเบื้องต้นเพื่อการปฏิบัติงานคือมาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก (Professional Standards of Clinical Psychology)
มาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก (Professional Standards of Clinical Psychology)
งานด้านจิตวิทยาคลินิก นับว่ามีความสำคัญต่อความเป็นอยู่และสุขภาพจิตที่ดีของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง การช่วยเหลือเอื้ออำนวยมนุษย์ให้ปรับตัวปรับใจและมีสุขนั้น เป็นบริการที่ต้องใช้วิชาการ จึงต้องรอบคอบระมัดระวังและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก งานทางวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกเป็นงานที่ผู้ปฏิบัติได้รับความไว้วางใจจากผู้มารับบริการ สังคม และผู้บริหารอย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงต้องธำรงความรับผิดชอบไว้อย่างสูงตามมาตรฐานวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก การปฏิบัติงานด้านการทำทดสอบทางจิตวิทยาถือเป็นงาน
หลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาคลินิกจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน
วิชาชีพ 2 ประการ ดังนี้คือ
มาตรฐานที่ 1 จรรยาวิชาชีพนักจิตวิทยาคลินิก (Ethical Principles of Clinical Psychologist)
มาตรฐานที่ 2 การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychological Assessment)
สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับการปฏิบัติงานของนักจิตวิทยาคลินิกคือ การปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์จรรยาบรรณสำหรับนักจิตวิทยาคลินิก ซึ่งความรู้เรื่องจรรยาบรรณนี้มีส่วนช่วยอย่างสำคัญในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติงานที่เหมาะสมได้ด้วยความมั่นใจ สบายใจ และปลอดภัยเป็นรากฐานที่มั่นคง ความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพมิได้อยู่ที่ความรู้ด้านทฤษฎีเป็นเลิศอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องประกอบด้วยการปฏิบัติงานที่งดงามด้วยคุณธรรม เพื่อยังประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้เกี่ยวข้อง และความเป็นสุขของคนในสังคมด้วย นักจิตวิทยาคลินิกจึงต้องปฏิบัติงานตามมาตรฐานด้านจรรยาบรรณวิชาชีพดังนี้
มาตรฐานเชิงกระบวนการปฏิบัติงาน | มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ |
1. การปฏิบัติงานตามหลักวิทยาศาสตร์ ในฐานะที่นักจิตวิทยาคลินิกเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต้องมีความรับผิดชอบสูง ประกอบกรเต็มกำลังสติปัญญา เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมตามควรแก่กรณี ให้เกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด เพื่อป้องกันผลที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้อื่น 2. ความรับผิดชอบและมาตรฐานความรู้ในวิชาชีพ ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ว่าด้วยมาตรฐานความรู้ในวิชาชีพ อย่างเคร่งครัดทุก ประการ ระมัดระวังไม่กระทำการใด ๆ ที่จะเป็นเหตุให้สังคมส่วนรวมเสื่อมความศรัทธาต่อวิชาชีพของตน มีการศึกษาใฝ่หาความรู้เต็มที่ ทันต่อเหตุการณ์ตลอดเวลา 3. ทักษะการปฏิบัติงาน ต้องมีทักษะความสมารถ ในการปฏิบัติงานจิตวิทยาคลินิกที่รักษามาตรฐานของตนไว้ในระดับ สูง เพื่อประโยชน์สุขของสังคมและวิชาชีพทางจิตวิทยา ด้วยการหมั่นศึกษาหาความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ ทั้งส่วนที่เป็นวิทยาศาสตร์และวิชาชีพ ในขณะเดียวกัน ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้านความ สามารถและวิธีการที่จะนำไปใช้ด้วย นักจิตวิทยา คลินิกจะลงมือปฏิบัติงานหรืองานสอนให้ผู้อื่นก็ต่อ มาตรฐานเชิงกระบวนการปฏิบัติงาน | ผู้ใช้บริการได้รับผลที่ตรงต่อความเป็นจริง ผลจากการปฏิบัติทางจิตวิทยาคลินิก เป็นเกณฑ์มาตรฐานที่เชื่อถือของสังคม และเป็นหลักฐาน ทางกฎหมายและราชการได้ ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์และสวัสดิภาพ อย่างเต็มที่ มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ |
เมื่อได้รับการฝึกฝน และมีประสบการณ์จนมีคุณสมบัติพอเพียง ซึ่งนักจิตวิทยาคลินิกพึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเสมอ 4. หลักศีลธรรมและกฎหมาย นักจิตวิทยาคลินิกต้องประพฤติตนตามศีลธรรม และกฎหมายเช่นเดียวกับคนอื่น ๆ ในสังคม และ ต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบในวิชาชีพของตน ต้องระมัดระวังในการกระทำ ที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์มาตรฐาน ความประพฤติของสังคมในลักษณะหรือรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ ครู ลูกจ้างหน่วยงาน ฯ ที่ไม่ขัดต่อมาตรฐานทางศีลธรรม กฎหมายและหลักจรรยาวิชาชีพ 5. การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การประกาศ โฆษณา แถลงข่าวบริการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมงานจิตวิทยาคลินิก ควรทำด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้คนอื่นในสังคมได้ข้อมูลมาประกอบการพิจารณาเลือกสิ่งที่เหมาะสม ในการให้ข้อมูลข่าวสารใด ๆที่เกี่ยวข้องกับงานต้องกระทำ อย่างถูกต้องเหมาะสม และตรงตามความเป็นจริง ให้สมกับคุณสมบัติทางวิชาชีพ และหน้าที่การงาน ในฐานะตัวแทนของหน่วยงาน 6. การรักษาความลับ ต้องรักษาและเคารพในความลับของผู้ใช้บริการ และจะบอกข้อมูลให้ผู้อื่นทราบได้ ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเสียก่อน ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่สามารถอนุญาตด้วยตนเองได้ ต้องให้ผู้ปกครองหรือตัวแทน ที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นผู้อนุญาต ยกเว้นกรณี พิเศษที่ถ้าไม่เปิดเผยความลับนี้แล้ว จะทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่นก็ต้องบอกให้ผู้ใช้บริการทราบ ล่วงหน้าว่านักจิตวิทยาคลินิกมีข้อจำกัดทางกฎหมาย | ผู้ใช้บริการต้องไม่ได้รับการกระทบกับสิทธิตามกฎหมาย อันเป็นผลสืบเนื่องจากการให้บริการ ทางจิตวิทยาคลินิก ผู้ใช้บริการได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ ไม่ก่อให้เกิดความคาดหวังที่เกิน จริง ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง หรือความตื่นตระหนกต่อข่าวสารนั้น ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการ ได้รับการรักษาเป็นความลับอย่างถูกต้องตามกฎหมาย |
มาตรฐานที่ 2 การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychological Assessment)
นักจิตวิทยาคลินิกใช้ความรู้ทางวิชาการจิตวิทยาคลินิกในการปฏิบัติงานกับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบุคคลทั่วไปขององค์กรภาครัฐ / เอกชน และชุมชนที่ยังมิได้เป็นปัญหา เป็นลักษณะงานที่เน้นการศึกษาพฤติกรรมทั้งในส่วนที่เป็นศักยภาพ กลไกที่มาหรือสาเหตุของปัญหาทางจิตเวช สุขภาพจิต และความผิดปกติอันสืบเนื่องมาจากพยาธิสภาพทางสมอง ตลอดจนลักษณะบุคลิกภาพและระดับเชาวน์ปัญญา โดยใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาชนิดต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิกในลักษณะอื่น ๆ เช่น การสังเกตพฤติกรรม และการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการตรวจวินิจฉัย การวิเคราะห์ผลการตรวจ การประมวลผลและสรุปผลรายงานเพื่อการวินิจฉัย การวางแนวทางการบำบัดทางจิตวิทยาและการพยากรณ์โรค นักจิตวิทยาคลินิกจึงต้องปฏิบัติงานด้านการทำทดสอบทางจิตวิทยาตามมาตรฐานการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ดังนี้
มาตรฐานเชิงกระบวนการปฏิบัติงาน | มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ | |
1. ศึกษาทะเบียนประวัติและใบปรึกษาโรค เพื่อ วางแผน และตัดสินใจเลือกเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา ให้เหมาะสมตามวัยและลักษณะอาการของผู้มาใช้บริการ 2. เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาพร้อมอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย 3. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ใช้บริการ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ และจูงใจให้ร่วมมือในการตรวจวินิจฉัย 4. สังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์ผู้ใช้บริการ เพื่อนำข้อมูลและพฤติกรรมการแสดงออกมาประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย 5. ทดสอบด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา อย่างใด อย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ 5.1 แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา 5.2 แบบทดสอบบุคลิกภาพ 5.3 แบบทดสอบจิตวิทยาเชิงประสาทวิทยา 5.4 แบบทดสอบพัฒนาการเด็ก 5.5 แบบทดสอบความบกพร่องทางการเรียน 5.6 แบบทดสอบทางจิตวิทยาชนิดอื่น ๆ | 1. ผู้ใช้บริการเกิดความไว้วางใจ มีสัมพันธภาพกับผู้ให้บริการ และร่วมมือในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก 2. ผู้ใช้บริการได้รับรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหาและ ศักยภาพของตนเอง 3. ผู้ใช้บริการและผู้เกี่ยวข้องรับรู้แนวทางในการ ปฏิบัติเกี่ยวกับการช่วยเหลือและบำบัดทางจิตวิทยาต่อไป 4. มีบันทึกผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ในแฟ้มประวัติการรักษาของผู้ใช้บริการ เพื่อใช้ อ้างอิงหรือส่งต่อให้ผู้เกี่ยวข้อง 5.นักจิตวิทยาได้ข้อมูลในการวางแผนในการบำบัด ทางจิตวิทยา และการดำเนินการปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง | |
มาตรฐานเชิงกระบวนการปฏิบัติงาน | มาตรฐานเชิงผลลัพธ์ | |
6. วิเคราะห์และแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา โดยให้คะแนนตามเกณฑ์มาตรฐานของเครื่องมือแต่ละชนิด วิเคราะห์ผลร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์ 7. ประชุมปรึกษาและตรวจสอบผลการทดสอบทางจิตวิทยากับนักจิตวิทยาคลินิกในหรือนอกหน่วยงาน (ในกรณีทีมีปัญหาในด้านกฎหมายหรืออื่น ๆ) 8. เขียนรายงานตามแบบรายงานมาตรฐาน ผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ซึ่งได้จากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การทดสอบทางจิตวิทยา รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดทางจิตวิทยา และการพยากรณ์โรค 9. ส่งผลการตรวจแก่ทีมงานสุขภาพจิตและ / หรือแจ้งผลการตรวจ แนวทางการช่วยเหลือ และการบำบัดทางจิตวิทยาแก่ผู้ใช้บริการและผู้เกี่ยวข้อง 10. เสนอผลการตรวจในที่ประชุมทีมสุขภาพจิตเพื่อตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือดำเนินการต่อไปในรายที่จำเป็น | ||