แนวทางการทำทดสอบทางจิตวิทยา
การปฏิบัติงานด้านการทดสอบทางจิตวิทยาสำหรับนักจิตวิทยาคลินิก สังกัดภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีแนวทางปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพในด้านการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychological Assessment) โดยแบ่งตามประเภทของผู้รับบริการได้ดังนี้คือ
1. แนวทางทดสอบพยาธิสภาพทางจิตและสุขภาพจิตผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคทางกาย แบ่งออก
เป็น 3 กลุ่ม
1.1 แนวทางทดสอบเด็กเล็กและเด็กโต
1.2 แนวทางทดสอบวัยรุ่น
1.3 แนวทางทดสอบผู้ใหญ่
2. แนวทางทดสอบสุขภาพจิตข้าราชการหรือพนักงาน หรือนักเรียนที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ
3. แนวทางทดสอบสุขภาพจิตและบุคลิกภาพนักเรียนที่สอบเข้าเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1. แนวทางทดสอบพยาธิสภาพทางจิตและสุขภาพจิตผู้ป่วยจิตเวชและผู้ป่วยโรคทางกาย
กระบวนการประเมินและการทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อประเมินพยาธิสภาพทางจิตและสุขภาพจิตของผู้รับบริการที่มาแผนกจิตเวชโดยตรง และผู้ป่วยโรคทางกายที่ถูกส่งปรึกษาจากแผนกอื่นในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ หลังจากที่ได้รับการส่งปรึกษาเพื่อให้ทำการตรวจประเมินทางจิตวิทยานักจิตวิทยาปฏิบัติการทดสอบทางจิตวิทยาตามมาตรฐานวิชาชีพ ในด้านการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychological Assessment) โดยแบ่งออกเป็นแนวทางทดสอบเด็กเล็กและเด็กโต แนวทางทดสอบวัยรุ่น และแนวทางทดสอบผู้ใหญ่ ตามขั้นตอนดังนี้
1.1 แนวทางทดสอบเด็กเล็กและเด็กโต
ขั้นเตรียมการ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทะเบียนประวัติและใบส่งปรึกษาตรวจประเมินทางจิตวิทยา เพื่อวางแผนและ
ตัดสินใจเลือกเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา ให้เหมาะสมตามวัยและลักษณะอาการหรือปัญหาของเด็ก ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา แบบบันทึกการทดสอบ (record form) นาฬิกาจับเวลา
กระดาษ A4 สี และอื่น ๆ ตามความจำเป็น ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที
ขั้นดำเนินการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 3 สร้างสัมพันธภาพกับเด็กและผู้ปกครอง เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและจูงใจให้ร่วมมือในการทำทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อเป้าหมายในการตรวจวินิจฉัย โดยใช้วิธีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวทั่ว ๆ ไป (small talk) และการจูงใจด้วยการให้เด็กได้เล่นของเล่นพร้อมกับสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านพฤติกรรมการแสดงออกมาประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 -10 นาที
ขั้นตอนที่ 4 ทำการสัมภาษณ์ผู้ปกครองสำหรับเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 8 ปี) และทำการสัมภาษณ์เด็กโต (อายุ 8-15 ปี) ร่วมกับสัมภาษณ์ผู้ปกครองหลังจากที่สัมภาษณ์เด็กโต เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจประเมินทางจิตวิทยา โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา (ดูในภาคผนวก ข) เป็นแนวทาง เพื่อใช้ประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 15 นาที
ขั้นตอนที่ 5 ทำการทดสอบด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกันเพื่อตอบคำถามที่ปรากฏในใบคำขอส่งตรวจทางจิตวิทยา (ดูในภาคผนวก ก) โดยทำการบันทึกพฤติกรรมขณะทำการทดสอบร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
5.1 แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา
5.2 แบบทดสอบพัฒนาการเด็ก
5.3 แบบทดสอบความบกพร่องทางการเรียน
5.4 แบบทดสอบบุคลิกภาพ
5.5 แบบทดสอบจิตวิทยาเชิงประสาทวิทยา
5.6 แบบทดสอบและมาตรวัดสุขภาพจิตสำหรับเด็ก
ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 1ชั่วโมง - 1 ชั่วโมง 30 นาที ถ้าทำการทดสอบไม่เสร็จตามเป้าหมาย นักจิตวิทยาต้องทำการนัดหมายเพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมในครั้งต่อไป หรืออาจใช้วิธีพักสักครู่หนึ่ง (ประมาณ 20-30 นาที หรือพิจารณาตามความเหมาะสม) ไม่ควรฝืนทำให้เสร็จ เพราะเด็กมีช่วงความสนใจสั้นกว่าผู้ใหญ่ อาจจะทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือและต่อต้านการทดสอบได้
ขั้นวิเคราะห์ผลและแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 6 ทำการวิเคราะห์และแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา โดยให้คะแนนตามเกณฑ์
มาตรฐานของเครื่องมือแต่ละชนิด วิเคราะห์ผลร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์ ขั้นตอนนี้จะไม่ทำทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาเสร็จสิ้น เนื่องจากในแต่ละวันจะมีคิวผู้ป่วยนัดทำทดสอบทางจิตวิทยาต่อเนื่องกัน การวิเคราะห์และแปลผลจึงจะทำในภาคบ่ายของวันที่ทำการทดสอบนั้นหรือวันรุ่งขึ้น ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเร่งด่วนที่ต้องพบจิตแพทย์ต่อทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยา
ก็จะทำการวิเคราะห์และแปลผลทันที ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที สำหรับกรณีเร่งด่วน และใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที สำหรับกรณีปกติ
ขั้นรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 7 เขียนรายงานตามแบบรายงานมาตรฐาน (ดูในภาคผนวก ค) โดยระบุผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ซึ่งได้จากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การทดสอบทางจิตวิทยา รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดทางจิตวิทยา และการพยากรณ์โรค โดยเขียนผลทดสอบที่เปิดเผยได้ เช่น ระดับ IQ พร้อมกับแนบ IQ Profile ลงในทะเบียนประวัติของเด็ก สำหรับกรณีเร่งด่วน ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที ส่วนข้อมูลที่เปิดเผยแล้วอาจเสียหายต่อเด็ก เช่น หลักฐานที่เกี่ยวกับปัญหา sexual abused ปัญหาพยาธิสภาพทางจิตที่นอกเหนือจากปัญหาการเรียน จะทำเป็นรายงานในรูปแบบการจัดพิมพ์และเก็บใส่ซองมิดชิดโดยไม่แนบไปกับทะเบียนประวัติ ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 20-30 นาทีเหมือนกับกรณีปกติอื่น ๆ และใช้เวลาในกระบวนการพิมพ์โดยเจ้าหน้าที่ธุรการ 1-2 วัน การจัดพิมพ์จะทำเป็น 2 ฉบับ สำหรับจิตแพทย์ 1 ฉบับ และสำหรับนักจิตวิทยาเก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ
ขั้นตอนที่ 8 อธิบายผลการทดสอบทางจิตวิทยาให้ผู้ปกครองและเด็กทราบ รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็ก และรวมถึงตอบข้อสงสัยของผู้ปกครอง ในขั้นตอนนี้
นอกจากจะอธิบายและให้คำปรึกษาโดยการพูดคุยแล้ว นักจิตวิทยาจะเขียนผลการตรวจและข้อเสนอแนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงในแบบฟอร์มรายงานผลการทดสอบทางจิตวิทยาฉบับผู้ปกครอง (ดูในภาคผนวก ง) ให้ผู้ปกครองนำกลับไปด้วย
ขั้นตอนที่ 9 ส่งผลการตรวจและ / หรือแจ้งผลการตรวจ แนวทางการช่วยเหลือ และการบำบัดทางจิตวิทยาแก่ทีมงานสุขภาพจิตและผู้เกี่ยวข้อง โดยรายงานผลการตรวจในรูปแบบการพิมพ์จะถูกส่งกลับมาจากหน่วยธุรการ 1-2 วัน หลังจากส่งต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือ และพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้จัดเก็บไว้ในตะแกรงเพื่อรอเสนอจิตแพทย์ กรณีผู้ป่วยใน เมื่อนักจิตวิทยาได้รับสำเนาที่เจ้าหน้าที่ธุรการส่งมาไว้ในตะแกรงรับสำเนาผลทดสอบที่วางในห้องพักนักจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยาก็จะโทร.แจ้งให้หอผู้ป่วยมารับผลทดสอบไปเตรียมรอเสนอจิตแพทย์ ภายหลังที่จิตแพทย์อ่านผลแล้วหรือภายหลังที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผลทดสอบทุกฉบับจะถูกเก็บไว้ที่ห้องตรวจจิตเวช โดยพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้รับผิดชอบรวบรวมให้นักจิตวิทยาเก็บเพื่อรอทำลายเมื่อเวลาผ่านพ้นไป 5 ปี
ขั้นตอนที่ 10 เสนอผลการตรวจในที่ประชุมทีมสุขภาพจิตทุกครั้งที่มี case conference เพื่อการวินิจฉัยและตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือดำเนินการต่อ และเพื่อประโยชน์ด้านการเรียนการสอนสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 และนำเสนอในที่ประชุม kardex round ในรายที่จำเป็น เพื่อปรับเปลี่ยนหรือตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือผู้ป่วย
1.2 แนวทางทดสอบวัยรุ่น
ขั้นเตรียมการ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทะเบียนประวัติและใบส่งปรึกษาตรวจประเมินทางจิตวิทยา เพื่อวางแผนและ
ตัดสินใจเลือกเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา ให้เหมาะสมตามวัยและลักษณะอาการหรือปัญหาของผู้ป่วยวัยรุ่น ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา แบบบันทึกการทดสอบ (record form) นาฬิกาจับเวลา
กระดาษ A4 สี และอื่น ๆ ตามความจำเป็น ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที
ขั้นดำเนินการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 3 สร้างสัมพันธภาพกับเด็กวัยรุ่น โดยแยกเด็กออกจากผู้ปกครอง นักจิตวิทยาต้องพูดคุยกับเด็กวัยรุ่นก่อนพูดคุยกับผู้ปกครองเสมอ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและจูงใจให้ร่วมมือในการทำทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อเป้าหมายในการตรวจวินิจฉัย โดยใช้วิธีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวทั่ว ๆ ไป (small talk) และการจูงใจด้วยการให้เด็กได้เล่าเรื่องที่เขากำลังสนใจอยู่พอสังเขป พร้อมกับสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านพฤติกรรมการแสดงออกมาประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 -10 นาที
ขั้นตอนที่ 4 ทำการสัมภาษณ์เด็กให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงค่อยเชิญผู้ปกครองเข้ามารับการ
สัมภาษณ์เพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจประเมินทางจิตวิทยา โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา (ดูในภาคผนวก ข) เป็นแนวทาง เพื่อใช้ประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 15 นาที
ขั้นตอนที่ 5 ทำการทดสอบด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกันเพื่อตอบคำถามตามใบคำขอส่งตรวจทางจิตวิทยา (ดูในภาคผนวก ก) โดยทำการบันทึกพฤติกรรม
ขณะทำการทดสอบร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
5.1 แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา
5.2 แบทดสอบความบกพร่องทางการเรียน
5.3 แบบทดสอบบุคลิกภาพ
5.5 แบบทดสอบจิตวิทยาเชิงประสาทวิทยา
5.6 แบบทดสอบความถนัดเชิงวิชาชีพ
5.7 แบบทดสอบและมาตรวัดสุขภาพจิตสำหรับวัยรุ่น
ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 1ชั่วโมง - 1 ชั่วโมง 30 นาที ถ้าทำการทดสอบไม่เสร็จตามเป้าหมาย นักจิตวิทยาต้องทำการนัดหมายเพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมในครั้งต่อไป หรืออาจถามความสมัครใจที่จะทำการทดสอบต่อ หากเด็กไม่ขัดข้องก็ดำเนินการทดสอบต่อ โดยอาจใช้วิธีพักสักครู่หนึ่งก่อน (ประมาณ 20-30 นาที หรือพิจารณาตามความเหมาะสม) แต่หากเด็กไม่สมัครใจ ไม่ควรฝืนทำให้เสร็จ เพราะ อาจจะทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือและต่อต้านการทดสอบได้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่เด็กสมัครใจที่จะทำการทดสอบต่อ นักจิตวิทยาก็ไม่ควรใช้เวลาดำเนินการเกินกว่า 2 ชั่วโมง เพราะธรรมชาติการเรียนรู้ของคนทั่วไปถ้าเกินกว่า 2 ชั่วโมง อาจจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและทำให้ความสนใจลดลงได้
ขั้นวิเคราะห์ผลและแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 6 ทำการวิเคราะห์และแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา โดยให้คะแนนตามเกณฑ์
มาตรฐานของเครื่องมือแต่ละชนิด วิเคราะห์ผลร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์ ขั้นตอนนี้จะไม่ทำทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาเสร็จสิ้น เนื่องจากในแต่ละวันจะมีคิวผู้ป่วยนัดทำทดสอบทางจิตวิทยาต่อเนื่องกัน การวิเคราะห์และแปลผลจึงจะทำในภาคบ่ายของวันที่ทำการทดสอบนั้นหรือวันรุ่งขึ้น ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเร่งด่วนที่ต้องพบจิตแพทย์ต่อทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยา
ก็จะทำการวิเคราะห์และแปลผลทันที ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที สำหรับกรณีเร่งด่วน และใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที สำหรับกรณีปกติ
ขั้นรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 7 เขียนรายงานตามแบบรายงานมาตรฐาน (ดูในภาคผนวก ค) โดยระบุผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ซึ่งได้จากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การทดสอบทางจิตวิทยา รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดทางจิตวิทยา และการพยากรณ์โรค โดยเขียนผลทดสอบที่เปิดเผยได้ เช่น ระดับ IQ พร้อมกับแนบ IQ Profile ลงในทะเบียนประวัติของเด็ก สำหรับกรณีเร่งด่วน ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที ส่วนข้อมูลที่เปิดเผยแล้วอาจเสียหายต่อเด็ก เช่น หลักฐานที่เกี่ยวกับปัญหา sexual abused ปัญหาพยาธิสภาพทางจิตที่นอกเหนือจากปัญหาการเรียน จะทำเป็นรายงานในรูปแบบการจัดพิมพ์และเก็บใส่ซองมิดชิดโดยไม่แนบไปกับทะเบียนประวัติ ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 20-30 นาทีเหมือนกับกรณีปกติอื่น ๆ และใช้เวลาในกระบวนการพิมพ์โดยเจ้าหน้าที่ธุรการ 1-2 วัน
การจัดพิมพ์จะทำเป็น 2 ฉบับ สำหรับจิตแพทย์ 1 ฉบับ และสำหรับนักจิตวิทยาเก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ
ขั้นตอนที่ 8 อธิบายผลการทดสอบทางจิตวิทยาให้ผู้ปกครองและเด็กทราบ รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของเด็ก และรวมถึงตอบข้อสงสัยของผู้ปกครอง ในขั้นตอนนี้
นอกจากจะอธิบายและให้คำปรึกษาโดยการพูดคุยแล้ว นักจิตวิทยาจะเขียนผลการตรวจและข้อเสนอแนะเป็นลายลักษณ์อักษรลงในแบบฟอร์มรายงานผลการทดสอบทางจิตวิทยาฉบับผู้ปกครอง (ดูในภาคผนวก ง) ให้ผู้ปกครองนำกลับไปด้วย
ขั้นตอนที่ 9 ส่งผลการตรวจและ / หรือแจ้งผลการตรวจ แนวทางการช่วยเหลือ และการบำบัดทางจิตวิทยาแก่ทีมงานสุขภาพจิตและผู้เกี่ยวข้อง โดยรายงานผลการตรวจในรูปแบบการพิมพ์จะถูกส่งกลับมาจากหน่วยธุรการ 1-2 วัน หลังจากส่งต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือ และพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้จัดเก็บไว้ในตะแกรงเพื่อรอเสนอจิตแพทย์ กรณีผู้ป่วยในเมื่อนักจิตวิทยาได้รับสำเนาที่เจ้าหน้าที่ธุรการส่งมาไว้ในตะแกรงรับสำเนาผลทดสอบที่วางในห้องพักนักจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยาก็จะโทร.แจ้งให้หอผู้ป่วยมารับผลทดสอบไปเตรียมรอเสนอจิตแพทย์ ภายหลังที่จิตแพทย์อ่านผลแล้วหรือภายหลังที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผลทดสอบทุกฉบับจะถูกเก็บไว้ที่ห้องตรวจจิตเวช โดยพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้รับผิดชอบรวบรวมให้นักจิตวิทยาเก็บเพื่อรอทำลายเมื่อเวลาผ่านพ้นไป 5 ปี
ขั้นตอนที่ 10 เสนอผลการตรวจในที่ประชุมทีมสุขภาพจิตทุกครั้งที่มี case conference เพื่อการวินิจฉัยและตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือดำเนินการต่อไป และเพื่อประโยชน์ด้านการเรียนการสอนสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 และนำเสนอในที่ประชุม kardex round ในรายที่จำเป็น เพื่อปรับเปลี่ยนหรือตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือผู้ป่วย
1.3 แนวทางทดสอบผู้ใหญ่
ขั้นเตรียมการ
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทะเบียนประวัติและใบส่งปรึกษาตรวจประเมินทางจิตวิทยา เพื่อวางแผนและ
ตัดสินใจเลือกเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา ให้เหมาะสมตามวัยและลักษณะอาการหรือปัญหาของผู้ป่วย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที
ขั้นตอนที่ 2 เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา แบบบันทึกการทดสอบ (record form) นาฬิกาจับเวลา
กระดาษ A4 สี และอื่น ๆ ตามความจำเป็น ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที
ขั้นดำเนินการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 3 สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและจูงใจให้ร่วมมือในการทำทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อเป้าหมายในการตรวจวินิจฉัย โดยใช้วิธีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องราวทั่ว ๆ ไป (small talk) พร้อมกับสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย เพื่อใช้เป็นข้อมูลด้านพฤติกรรมการแสดงออกมาประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 -10 นาที
ขั้นตอนที่ 4 ทำการสัมภาษณ์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจประเมินทางจิตวิทยา โดยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ทางจิตวิทยา (ดูในภาคผนวก ข) เป็นแนวทาง เพื่อใช้ประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 15 นาที
ขั้นตอนที่ 5 ทำการทดสอบด้วยเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกันเพื่อตอบคำถามที่ปรากฏในใบคำขอส่งตรวจทางจิตวิทยา (ดูในภาคผนวก ก) โดยทำการบันทึกพฤติกรรมขณะทำการทดสอบร่วมด้วย ดังต่อไปนี้
5.1 แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา
5.2 แบบทดสอบบุคลิกภาพ
5.3 แบบทดสอบจิตวิทยาเชิงประสาทวิทยา
5.4 แบบทดสอบและมาตรวัดสุขภาพจิตสำหรับผู้ใหญ่
ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 1ชั่วโมง - 1 ชั่วโมง 30 นาที ถ้าทำการทดสอบไม่เสร็จตามเป้าหมาย นักจิตวิทยาต้องทำการนัดหมายเพื่อทำการทดสอบเพิ่มเติมในครั้งต่อไป หรืออาจถามความสมัครใจที่จะทำการทดสอบต่อ หากผู้ป่วยไม่ขัดข้องก็ดำเนินการทดสอบต่อ โดยอาจใช้วิธีพักสักครู่หนึ่งก่อน (ประมาณ 20-30 นาที หรือพิจารณาตามความเหมาะสม) แต่หากผู้ป่วยไม่สมัครใจ ไม่ควรฝืนทำให้เสร็จ เพราะอาจจะทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือและต่อต้านการทดสอบได้ อย่างไรก็ตามในกรณีที่ผู้ป่วยสมัครใจที่จะทำการทดสอบต่อ นักจิตวิทยาก็ไม่ควรใช้เวลาดำเนินการเกินกว่า 2 ชั่วโมง เพราะธรรมชาติการเรียนรู้ของคนทั่วไปถ้าเกินกว่า 2 ชั่วโมง อาจจะทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและทำให้ความสนใจลดลงได้
ขั้นวิเคราะห์ผลและแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 6 ทำการวิเคราะห์และแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา โดยให้คะแนนตามเกณฑ์
มาตรฐานของเครื่องมือแต่ละชนิด วิเคราะห์ผลร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์ ขั้นตอนนี้จะไม่ทำทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาเสร็จสิ้น เนื่องจากในแต่ละวันจะมีคิวผู้ป่วยนัดทำทดสอบทางจิตวิทยาต่อเนื่องกัน การวิเคราะห์และแปลผลจึงจะทำในภาคบ่ายของวันที่ทำการทดสอบนั้นหรือวันรุ่งขึ้น ยกเว้นกรณีผู้ป่วยเร่งด่วนที่ต้องพบจิตแพทย์ต่อทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยา
ก็จะทำการวิเคราะห์และแปลผลทันที ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที สำหรับกรณีเร่งด่วน และใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที สำหรับกรณีปกติ
ขั้นรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 7 เขียนรายงานตามแบบรายงานมาตรฐาน (ดูในภาคผนวก ค) โดยระบุผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ซึ่งได้จากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การทดสอบทางจิตวิทยา รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย การบำบัดทางจิตวิทยา และการพยากรณ์โรค โดยเขียนผลทดสอบที่เปิดเผยได้ เช่น ระดับ IQ พร้อมกับแนบ IQ Profile ลงในทะเบียนประวัติของผู้ป่วย สำหรับกรณีเร่งด่วน ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 10 นาที ส่วนข้อมูลที่เปิดเผยแล้วอาจเสียหายต่อผู้ป่วย เช่น หลักฐานที่เกี่ยวกับปัญหาทางเพศ ปัญหาพยาธิสภาพทางจิต จะทำเป็นรายงานในรูปแบบการจัดพิมพ์และเก็บใส่ซองมิดชิดโดยไม่แนบไปกับทะเบียนประวัติ และใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 20-30 นาทีเหมือนกับกรณีปกติอื่น ๆ และใช้เวลาในกระบวนการพิมพ์โดยเจ้าหน้าที่ธุรการ 1-2 วัน การจัดพิมพ์จะทำเป็น 2 ฉบับ สำหรับจิตแพทย์ 1 ฉบับ และสำหรับนักจิตวิทยาเก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ
ขั้นตอนที่ 8 อธิบายผลการทดสอบทางจิตวิทยาให้ผู้ป่วยทราบ รวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาของผู้ป่วย และรวมถึงตอบข้อสงสัยของผู้ป่วยก่อนเข้าพบจิตแพทย์ด้วย
ขั้นตอนที่ 9 ส่งผลการตรวจและ / หรือแจ้งผลการตรวจ แนวทางการช่วยเหลือ และการบำบัดทางจิตวิทยาแก่ทีมงานสุขภาพจิตและผู้เกี่ยวข้อง โดยรายงานผลการตรวจในรูปแบบการพิมพ์จะถูกส่งกลับมาจากหน่วยธุรการ 1-2 วัน หลังจากส่งต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือ และพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้จัดเก็บไว้ในตะแกรงเพื่อรอเสนอจิตแพทย์ กรณีผู้ป่วยในเมื่อนักจิตวิทยาได้รับสำเนาที่เจ้าหน้าที่ธุรการส่งมาไว้ในตะแกรงรับสำเนาผลทดสอบที่วางในห้องพักนักจิตวิทยาแล้ว นักจิตวิทยาก็จะโทร.แจ้งให้หอผู้ป่วยมารับผลทดสอบไปเตรียมรอเสนอจิตแพทย์ ภายหลังที่จิตแพทย์อ่านผลแล้วหรือภายหลังที่ผู้ป่วยถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว ผลทดสอบทุกฉบับจะถูกเก็บไว้ที่ห้องตรวจจิตเวช โดยพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้รับผิดชอบรวบรวมให้นักจิตวิทยาเก็บเพื่อรอทำลายเมื่อเวลาผ่านพ้นไป 5 ปี
ขั้นตอนที่ 10 เสนอผลการตรวจในที่ประชุมทีมสุขภาพจิตทุกครั้งที่มี case conference เพื่อการวินิจฉัยและตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือดำเนินการต่อไป และเพื่อประโยชน์ด้านการเรียนการสอนสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ และนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 และนำเสนอในที่ประชุม kardex round ในรายที่จำเป็น เพื่อปรับเปลี่ยนหรือตัดสินใจวางแผนการช่วยเหลือผู้ป่วย
2. แนวทางทดสอบสุขภาพจิตข้าราชการ หรือพนักงาน หรือนักเรียนที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ข้าราชการ หรือพนักงาน หรือนักเรียนที่ได้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วย การให้บริการตรวจสุขภาพจิตจึงมีความแตกต่างจากผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้ป่วยโรคทางกายที่สงสัยว่าอาจจะป่วยทางจิตหรือมีปัญหาสุขภาพจิต โดยที่ผู้รับบริการกลุ่มนี้จะเข้ารับการตรวจประเมินทางจิตวิทยาก่อนที่จะพบจิตแพทย์ และสามารถดำเนินการพร้อมกันเป็นกลุ่มได้ เนื่องจากการตรวจสุขภาพจิตสำหรับผู้รับริการในกลุ่มนี้จะมาที่แผนกจิตเวชโดยไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า นักจิตวิทยาปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นเตรียมการ
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา พร้อมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย ได้แก่ แบบสอบถามประวัติส่วนตัว ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 2 นาที
ขั้นดำเนินการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและจูงใจให้ร่วมมือในการทำทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อเป้าหมายในการตรวจวินิจฉัย ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที
ขั้นตอนที่ 3 ชี้แจงขั้นตอนการให้บริการตามแนวทางการตรวจสุขภาพจิตเพื่อศึกษาต่อต่างประ-
เทศ (ดูในภาคผนวก จ) และก่อนทำการทดสอบทางจิตวิทยานักจิตวิทยาขอให้ผู้รับบริการตอบแบบสอบถาม
ประวัติส่วนตัว (ดูในภาคผนวก ฉ) เป็นแนวทาง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจประเมินทางจิตวิทยา เพื่อใช้ประกอบในการวิเคราะห์ผลการตรวจวินิจฉัย และชี้แจงวิธีการทำแบบทดสอบซึ่งผู้รับบริการสามารถตอบแบบทดสอบได้ด้วยตนเอง ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที
ขั้นตอนที่ 4 ให้ผู้รับบริการทำแบบทดสอบด้วยวิธีรายงานตนเอง โดยใช้ห้องประชุมด้านหลังห้องตรวจจิตเวชที่มีความสงบเงียบและอุณหภูมิพอเหมาะเป็นสถานที่ทดสอบ เครื่องมือทดสอบที่ใช้มีเพียงแบบทดสอบเดียวคือ Minnesota Multiphasic Personality Test (MMPI) ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที
ขั้นวิเคราะห์ผลและแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 6 ทำการวิเคราะห์และแปลผลการทดสอบทางจิตวิทยา โดยให้คะแนนตามเกณฑ์
มาตรฐานของเครื่องมือ วิเคราะห์ผลร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมและข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามประวัติส่วนตัว ขั้นตอนนี้จะไม่ทำทันทีหลังจากที่ทำการทดสอบทางจิตวิทยาเสร็จสิ้น เนื่องจากในแต่ละวันจะมีคิวผู้ป่วยนัดทำทดสอบทางจิตวิทยาต่อเนื่องกัน การวิเคราะห์และแปลผลจึงจะทำในภาคบ่ายของวันที่ทำการทดสอบนั้น เพื่อที่จะได้ส่งพิมพ์ผลให้ทันใช้งานในวันรุ่งขึ้น ในขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
ขั้นรายงานผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 7 เขียนรายงานตามแบบรายงานมาตรฐาน (ดูในภาคผนวก ค) โดยระบุผลการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก ซึ่งได้จากการสังเกตพฤติกรรม การตอบแบบสอบถามจากประวัติส่วนตัว การทดสอบทางจิตวิทยา แล้วส่งผลไปพิมพ์ที่ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ใช้เวลาในกระบวนการพิมพ์โดยเจ้าหน้าที่ธุรการ 1/2 วัน การจัดพิมพ์จะทำเป็น 2 ฉบับ สำหรับจิตแพทย์ 1 ฉบับ และสำหรับนักจิตวิทยาเก็บไว้เป็นสำเนา 1 ฉบับ
ขั้นตอนที่ 8 ส่งผลการตรวจและ / หรือแจ้งผลการตรวจแก่ทีมงานสุขภาพจิตและผู้เกี่ยวข้อง โดย
รายงานผลการตรวจในรูปแบบการพิมพ์จะถูกส่งกลับมาจากหน่วยธุรการในวันรุ่งขึ้น หลังจากส่งต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือ และพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้จัดเก็บไว้ในตะแกรงเพื่อรอเสนอจิตแพทย์ ผลทดสอบทุกฉบับจะถูกเก็บไว้ที่ห้องตรวจจิตเวช โดยพยาบาลห้องตรวจจะเป็นผู้รับผิดชอบรวบรวมให้นักจิตวิทยาเก็บเพื่อรอทำลายเมื่อเวลาผ่านพ้นไป 5 ปี
3. แนวทางทดสอบสุขภาพจิตและบุคลิกภาพนักเรียนที่สอบเข้าเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์
การให้บริการตรวจสุขภาพจิตและบุคลิกภาพนักเรียน ที่สอบเข้าเรียนต่อในคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วยเช่นเดียวกับกลุ่มผู้รับบริการที่ได้ทุนศึกษาต่อต่างประเทศ
การบริการจึงมีความแตกต่างจากผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้ป่วยโรคทางกายที่สงสัยว่าอาจจะป่วยทางจิต หรือมีปัญหาสุขภาพจิตด้วยเช่นกัน โดยที่ผู้รับบริการกลุ่มนี้จะเข้ารับการตรวจประเมินทางจิตวิทยาเป็นกลุ่มก่อนที่จะเข้ารับการสัมภาษณ์กับจิตแพทย์ แต่ละปีการศึกษาจะทำการทดสอบ 2 ครั้ง คือในราวเดือนธันวาคม (สอบโดยวิธีรับตรง) และในราวเดือนพฤษภาคม (สอบโดยรับจากส่วนกลาง) ผู้รับริการกลุ่มนี้มีจำนวน 80-160 คน และจะมาที่รับการทดสอบที่อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีการกำหนดแจ้งล่วงหน้า นักจิตวิทยาปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
ขั้นเตรียมการ
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมเครื่องมือทดสอบทางจิตวิทยา เนื่องจากมีผู้เข้ารับการทดสอบจำนวนมาก ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 30 นาที
ขั้นดำเนินการทดสอบทางจิตวิทยา
ขั้นตอนที่ 2 สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและจูงใจให้ร่วมมือในการทำทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อเป้าหมายในการตรวจคัดกรอง ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที
ขั้นตอนที่ 3 นักจิตวิทยาชี้แจงขั้นตอนการทดสอบทางจิตวิทยา โดยขอให้ผู้รับบริการตอบ แบบทดสอบด้วยวิธีรายงานตนเอง ใช้เวลาในขั้นตอนนี้ประมาณ 5 นาที